รู้หรือไม่ว่า มาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (IFRS 9) นั้นเคยมีการเลื่อนใช้มาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งกำหนดการใช้ก่อนหน้านี้คือวันที่ 1 มกราคม 2562 เนื่องจากกังวลเรื่องผลกระทบในหลายๆ ภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจบ้านเราและหากธุรกิจสะดุดหรือมีอุปสรรค อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม

IFRS 9 คืออะไร?

มาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน ที่นำมาใช้แทน IAS39 โดยเหตุผลที่เปลื่ยนเนื่องจาก“วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” ทำให้เป็นหนี้จำนองและส่งผลให้สถาบันการเงินและกิจการขนาดใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกาประสบผลขาดทุนจนล้มละลายและต้องปิดกิจการไปในที่สุด ซึ่งวิกฤติได้ขยายตัวเป็นวงกว้างจนกลายเป็นวิกฤตทางการเงินของโลกและไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวด้วยเช่นกัน สรุปได้ง่ายๆว่า IAS39 นั้นมีช่องโหว่และหย่อนเกินไป

โดย IFRS 9 ประกอบด้วย 3 เรื่องหลักๆ คือ

1) การจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่า (Classification and measurement)

2) การด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน (Impairment)

3) การบัญชีป้องกันความเสี่ยง (Hedge accounting)

ใครได้รับผลกระทบบ้าง?

หลักการของมาตรฐาน IFRS 9 นี้ธนาคารจะเข้มงวดมากยิ่งขึ้น คือจะมีการกันเงินสำรองไว้สำหรับรองรับผลในอนาคต โดยคนที่เสี่ยงและได้รับผลกระทบคือทุกกิจการที่มีการใช้เครื่องมือทางการเงิน รวมไปถึงบริษัททั้งหมดทั้งจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน โดยธนาคารจะดูความเสี่ยงภายใน 12 เดือนว่ามีความเสี่ยงที่จะด้อยค่าไหม มีหนี้หรือไม่

ซึ่งวิธีการดูความเสี่ยงมีหลากหลาย เช่น มีการผิดนัดชำระหนี้ไหม ให้ดูใน 12 เดือนข้างหน้าและถ้าสมมติว่าไม่มีการชำระเงิน จนกระทั่งเมื่อถึงเวลาประเมินแล้วเกิดความเสี่ยงที่สูงขึ้นเพิ่มเติม จะต้องตั้งสำรองทางการเงินทั้งจำนวน เช่น ปล่อยกู้ไปเท่าไหร่ สินทรัพย์นั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ ต้องตั้งสำรองตั้งแต่วันแรกที่รู้และให้ตั้งสำรองตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งหลายๆ คนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยากและเป็นการสร้างภาระมากจนเกินไป แต่ในทางกลับกันเราสามารถมองการตั้งค่าเงินสำรองนี้ให้เป็นข้อดีว่า อย่างน้อยเราก็มีเกราะป้องกันให้ธุรกิจของเราสามารถรองรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

เริ่มใช้ตอนไหน?

มาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 กำหนดให้เริ่มใช้ 1 มกราคม 2565 แต่มีบางประเทศอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ได้มีการเริ่มใช้แล้ว โดยในประเทศไทยนั้นมีการประเมินไว้ว่าถ้าใช้ ธนาคารนั้นจะต้องตั้งสำรองเพิ่ม 25% – 30% และพนักงานบัญชีต้องเตรียมพร้อมรับมือกับมาตรฐานทางการเงินนี้

ซึ่งการใช้มาตรฐานบัญชี IFRS 9 นั้นมีข้อดีและไม่ได้สร้างผลกระทบเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีประโยชน์มากกว่าเพราะจะทำให้บัญชีมีความชัดเจนมากขึ้นโดยทาง Triforce ขอแนะนำให้พนักงานบัญชีและกลุ่มธุรกิจทางการเงินควรที่จะเตรียมพร้อมแต่เนิ่นๆ โดยเรามีโซลูชั่นส์ IFRS9 ที่จะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น สามารถติดต่อเราได้ที่

E-Mail : info@triforcegs.com หรือโทร : 02-235-2312

แหล่งอ้างอิง : 

https://bit.ly/2YHXPbD

https://bit.ly/2H5sZ1L

https://bit.ly/2OTiXqW

ขอขอบคุณวีดิโอจากทาง : Allianz